จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
วันนี้
46
เมื่อวาน
45
เดือนนี้
781
เดือนก่อน
1,918
ปีนี้
16,955
ปีก่อน
5,585

ข้อมูล อบต.

 

ประวัติความเป็นมา

     ก่อนที่จะมาเป็นตำบลสัมปทวนกล่าวคือ คนโบราณได้เล่าขานกันมาตลอดว่าในแม่น้ำที่ไหลขึ้นไหลลงอย่างแรงชาวบ้านหลายคนที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ริมแม่น้ำท่าจีนหลายคน ได้พบเห็นเกศของพระพุทธรูปลอยโผล่ขึ้นเหนือน้ำมา 3 เกศ ลำตัวจมอยู่ใต้น้ำโดยมีเชือกผูกติดกันมาทั้ง 3 องค์กลับไม่ไหลไปตามน้ำ กลับไหลทวนกระแสน้ำขึ้นมาวนเวียนอยู่ตรงวัดสัมปทวน เมื่อชาวบ้านแถวนั้นรู้เข้าก็พามากันมากมาย หวังว่าจะช่วยพระทั้ง 3 องค์ ขึ้นมาจากน้ำให้ได้แต่แล้วก็ต้องผิดหวังดึงเท่าไรก็ดึงไม่ขึ้น ดึงไปดึงมาก็ดึงไม่ขึ้น ดึงไปดึงมาเชือกที่ผูกไว้กับองค์พระก็ขาดสะบั้นลง และพระทั้ง 3 องค์ ก็ได้จมหายไปตามกระแสน้ำไหล โดยที่ไม่มีผู้ใดใดพบเห็นอีกเลยเมื่อได้ตั้งเป็นตำบลครั้งแรก ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อตำบลนี้ว่า "สามพระทวน" ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสัมปทวนมาจนทุกวันนี้

 

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลสัมปทวน

“  ชุมชนเข้มแข็ง  เป็นแหล่งวัฒนธรรม  มุ่งนำการศึกษา  

พัฒนาเศรษกิจ  ชีวิตปลอดภัย  ก้าวไกลการกีฬา ”

พันธกิจ

     พันธกิจที่  1 พัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สร้างระบบการบริหารการจัดการที่ดีมีความโปร่งใส ส่งเสริมสนับสนุนการเมือง การปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตย       

     พันธกิจที่  ๒ ส่งเสริมพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

     พันธกิจที่ 3 สร้างระบบการกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และการคุ้มครองดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์เมือง

     พันธกิจที่  4 ส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริมของประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการประหยัดพลังงาน

     พันธกิจที่ 5  ส่งเสริม  สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน  การสร้างอาชีพ  และรายได้ของประชาชนตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง              

     พันธกิจที่  6 พัฒนาศักยภาพของคนและสังคมยกมาตรฐานคุณภาพชีวิต แก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดสนับสนุนกีฬาและนันทนาการ              

     พันธกิจที่  7 เสริมสร้างความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 

     พันธกิจที่  8 ส่งเสริมด้านการศึกษา ศาสนา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น  

     พันธกิจที่  9 ดูแลระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

เป้าหมายการพัฒนา

     1. ระบบการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการพัฒนาท้องถิ่น

     2.  แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ / เชิงสุขสภาพ มีศักยภาพ และสร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น

     3. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการดูแลรักษาให้เกิดความสมดุลอย่างมีคุณภาพ ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

     4. เศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการพัฒนาอาชีพ ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการผลิตผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัยจากสารพิษเพื่อการบริโภคโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

     5. การจัดการด้านสาธารณสุข กีฬา นันทนาการ สวัสดิการสังคม / การสังคมสงเคราะห์ มีประสิทธิภาพประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

     6.  การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและ ผู้พิการ มีประสิทธิภาพ

     7. การพัฒนาด้านการศึกษามีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน ประชาชนมีศักยภาพในการเรียนรู้ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น

     8.  การทำนุบำรุงรักษาศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

     9. การเชื่อมโยงระบบการคมนาคมขนส่งมีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน สามารถรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคตและเศรษฐกิจของ

การเมืองการปกครอง

เขตการปกครอง

     ตำบลสัมปทวน ประกอบด้วยจำนวนหมู่บ้าน  6หมู่บ้าน โดย แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  6 หมู่บ้าน  ดังนี้

หมู่ที่ ๑ บ้านใต้(กลาง)

     นางสมศรี         ศิลาเวียง            ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่  ๒ บ้านลาวกลาง

     นายสัญชัย        พุกสุริย์วงษ์        ผู้ใหญ่บ้าน        

หมู่ที่  ๓ บ้านสัมปตาก

     นายวิทิตย์      จีนเปีย                  ผู้ใหญ่บ้าน  

หมู่ที่  ๔ บ้านเหนือ(ดอนอิฐ)      

     นางอำพร          บุญอำไพ            กำนันตำบลสัมปทวน

หมู่ที่  ๕ บ้านต้นลาน

     นายจำลอง        ข้องรักสัตย์         ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่  ๖  บ้านหนองจอก

     นายเฉลิมพล      เกิดรอด             ผู้ใหญ่บ้าน

การเลือกตั้ง

     การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน       มีจำนวน 6หมู่บ้าน หากมีการเลือกตั้งในครั้งหน้า จะมี ผู้บริหารท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) จำนวน 1 คน จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละ 2 คน 6หมู่บ้าน รวมเป็น 12คน

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 1 บ้านใต้ (กลาง) 54 90 89 179 คน
หมู่ที่ 2 บ้านลาวกลาง 109 169 195 364 คน
หมู่ที่ 3 บ้านสัมปตาก 202 359 403 762 คน
หมู่ที่ 4 บ้านเหนือ (ดอนอิฐ) 330 470 504 974 คน
หมู่ที่ 5 บ้านต้นลาน 304 414 472 886 คน
หมู่ที่ 6 บ้านหนองจอก 233 324 349 673 คน
ข้อมูลรวม : คน

สภาพทั่วไปและสักษณะภูมิประเทศ

ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือตำบล

     องค์การบริหารส่วนตำบลสัมปทวน มีสำนักงานตั้งอยู่ที่เลขที่ ๕๓/๓ หมู่ที่ ๔     บ้านดอนอิฐ ตำบลสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม  ห่างจากตัวอำเภอนครชัยศรีประมาณ  ๒  กิโลเมตร   เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง  มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น  ๑๓.๓๐๘  ตารางกิโลเมตรโดยมีอาณาเขตติดกับพื้นที่ตำบลต่าง ๆดังนี้

     ทิศเหนือ         จด ตำบลดอนแฝก ตำบลวัดละมุด ตำบลศรีมหาโพธิ์

                               อำเภอบางเลน อำเภอดอนตูม

     ทิศใต้             จด ตำบลงิ้วราย แม่น้ำท่าจีน (นครชัยศรี) อำเภอสามพราน

     ทิศตะวันออก    จด ตำบลวัดสำโรง แม่น้ำท่าจีน (นครชัยศรี) อำเภอพุทธมณฑล

     ทิศตะวันตก      จด ตำบลวัดแค ตำบลแหลมบัว อำเภอเมืองนครปฐม

 

ลักษณะภูมิประเทศ

     ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำนครชัยศรี(ท่าจีน) ไหลผ่าน มีคลองชลประทานไหลผ่านลงสู่แม่น้ำ ในพื้นที่ทำการเกษตร ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ทำนา จะมีการทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลา เฉพาะบริเวณที่อยู่ริมน้ำพื้นที่ดินมีความชุ่มชื่นอุดมสมบูรณ์ ตอนฤดูฝนพื้นที่อยู่บริเวณติดชายแม่น้ำนครชัยศรี (ท่าจีน)   จะเกิดปัญหาน้ำท่วม

ลักษณะภูมิอากาศ

     มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

ลักษณะของดิน

     ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วน ดินเหนียว พื้นราบเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าวและสวนผลไม้

ลักษณะของแหล่งน้ำ

     มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำท่าจีน (นครชัยศรี)

ลักษณะของไม้และป่าไม้

     ในพื้นที่อยู่ในเขตป่าไม้เสื่อมโทรม

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

ระบบเศรษฐกิจ

การเกษตร

     ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว สวนผลไม้ สวนดอกไม้และพืชผักสวนครัวที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง

การประมง

     ตำบลสัมปทวนมีการประมงน้ำจืดคือ เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงกบ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6

การปศุสัตว์

     ตำบลสัมปทวน มีการปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงโค การเลี้ยงสุกร เลี้ยงเป็ดและไก่      ในหมู่บ้านของ ตำบลสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

การบริการ

     บริการนวดแผนโบราณ ที่ กลุ่มนวดพื้น หมู่ที่ 1 วัดกลางคูเวียง ตำบลสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

     มีร้านบริการทำผม เสริมสวย พื้นที่ หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 5                    

     มีรีสอร์ท    ในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง                

     มีโรงสีข้าวขนาดเล็กในพื้นที่ จำนวน 2 แห่ง   

การท่องเที่ยว

     ตลาดน้ำวัดกลางคูเวียงหมู่ที่ 1 ตำบลสัมปทวน

อุตสาหกรรม

     ตำบลสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมมีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ดังนี้

     - บ.ชาร์ปแมนนูนแฟคเจอริ่ง(ประเทศไทย) จำกัด                            

     - บ.ที.ยู.ดับบลิวเท็กช์ไทส์ จำกัด                          

     - หจก.สินสมบรูณ์                                      

     - บ.โกเด็นท์ ฟาร์มฟุ๊ด จำกัด               

     - บจก.C.V.S.เทคโนโลยี

     - บ.แอนเทรียร์ กรุ๊ป จำกัด                                  

     - บ.ไพร์ม สแตนดาร์ด แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด                 

     - บ.ชฎินจำกัด   

     - บ.เคพีฟุ๊ด จำกัด

     - โรงงานอิฐประสาน

การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

     - กลุ่ม ธกส.                                1     กลุ่ม

     - กลุ่มออมทรัพย์                          6     กลุ่ม

     - กลุ่มเกษตร                               1     กลุ่ม

     - กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต          1     กลุ่ม

     - กลุ่มสหกรณ์การเกษตร                1     กลุ่ม

     - เพาะพันธุ์กิ่งไม้                          1     กลุ่ม

     - กลุ่มเย็บผ้าอุตสาหกรรม               1     กลุ่ม

     - กลุ่มข้าวศรีทวน                         1     กลุ่ม

     - กลุ่มปลาส้ม                              1     กลุ่ม

     - กลุ่มขนมไทย                            1     กลุ่ม

     - กลุ่มนวดแผนไทย                      1     กลุ่ม

แรงงาน

     ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว สวนผลไม้ สวนดอกไม้และพืชผักสวนครัวที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

     สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกที่โดดเด่น  คือ

     การผลิตเครื่องปั้นดินเผาเคลือบศิลาดล  ผลิตเครื่องปั้นดินเผา

ด้านสังคม

ยาเสพติด

     ปัญหายาเสพติดมีพื้นที่เฝ้าระวัง คือ พื้นที่หมู่ 3 บ้านสัมปตาก หมู่ 4 บ้านเหนือ(ดอนอิฐ) และหมู่ 5 บ้านต้นลาน

การสังคมสงเคราะห์

     การให้การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนชราคนพิการในเขตตำบลสัมปทวน พ.ศ. 2559

ประเภท

 จำนวนผู้ได้รับการช่วยเหลือ(ราย) 

เงินเบี้ยเลี้ยงยังชีพคนชรา

659

เงินเบี้ยเลี้ยงยังชีพคนพิการ

79

 เงินเบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้ติดเชื้อ HIV 

6

รวม

648

หมายเหตุ*ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2559(งานสวัสดิการและสังคม)

 

สภาพทางการศึกษา ศาสนะและวัฒนธรรม

การศึกษา

โรงเรียนประถมศึกษา      3    แห่ง ได้แก่

     1.โรงเรียนวัดกกตาล                 จำนวนนักเรียนประมาณ      191  คน

     2.โรงเรียนวัดกลางครูเวียง          จำนวนนักเรียนประมาณ      171  คน

     3.โรงเรียนเดชอนุสรณ์(เอกชน)    จำนวนนักเรียนประมาณ      505  คน

        (อนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 6)

โรงเรียนมัธยมศึกษา1 แห่ง ได้แก่

     1.โรงเรียนเดชอนุสรณ์ (เอกชน)   จำนวนนักเรียนประมาณ      14   คน

        (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3)

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน  3  แห่ง ได้แก่

     1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านต้นลาน         จำนวนนักเรียนประมาณ    23   คน

     2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดกลางคูเวียง      จำนวนนักเรียนประมาณ    32   คน

ในพื้นที่มีการศึกษานอกระบบ (กศน.ศรีค้ำ)  1  แห่ง

การนับถือศาสนา
 

 

     ประชาชน หมู่ที่ 1-6 และหมู่ที่ 10 นับถือศาสนาพุทธ

     วัด  มีจำนวน  4  วัด  ได้แก่                               

     1. วัดกลางคูเวียง

     2. วัดสัมปตาก

     3. วัดกกตาล                     

4. วัดธรรมมณฑล

ประเพณีและงานประจำปี

     ราษฎรในพื้นที่ตำบลสัมปทวน  มีประเพณีวัฒนธรรมคล้ายกับคนในภาคอีสาน       ที่นับถือพระพุทธศาสนา  และมีประเพณีวัฒนธรรม เช่น เดือน ๕ อาบน้ำผู้สูงอายุ (วันสงกรานต์)  เดือน  ๘วันเข้าพรรษา  เดือน ๑๐ทำบุญอุทิศให้ปู่ย่าตายาย  (วันสารท)  ขนมเดือนสิบ เดือน ๑๑วันออกพรรษา,เดือน ๑๒ลอยกระทง ปีใหม่ทำบุญอวยพรปีใหม่  นอกจากนั้นยังมีประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ในด้านต่าง ๆ  เช่น  การแต่งกาย  ภาษา  อาหาร  วัฒนธรรม  หรือการช่วยเหลือ  ความสามัคคี  และการละเล่นพื้นบ้าน  เป็นต้น

     ความเชื่อ  ชาวบ้านมีความเชื่อที่เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ตามเทือกสวนไร่นา  บรรพบุรุษ  และพระภิกษุ  ซึ่งมีการประกอบพิธี  การบูชาสิ่งเหล่านี้ตามฤดูกาล  เช่น  จัดงานบุญหลังบ้านของแต่ละหมู่บ้าน ไหว้ศาลเจ้าแม่อุ่นเรือน หอนายและการทำขวัญข้าวในฤดูเก็บเกี่ยว หรือการตั้งเจ้าที่ตามสวนเมื่อขึ้นไปทำสวนหรือนอนค้างคืนตามสวน  เจ้าที่ที่ชาวบ้านเคารพหรือพระในวัด  เช่น  พระหลวงพ่อวัววัดกกตาล

     ยังมีอดีตสมภารของแต่ละวัดในตำบลหลายรูป พระพุทธรูปที่เป็นพระคู่วัดของแต่ละวัด  มีชาวบ้านในหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านมีความเคารพและมีความเชื่อไว้สักการะบูชา   เป็นที่พึ่งทางใจ  ยามมีความทุกข์มีปัญหาสิ่งเหล่านี้จะช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านจิตใจตั้งแต่ในอดีต  และกลายเป็นความเชื่อที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน  แม้ว่าในปัจจุบันคนรุ่นใหม่จะมีพฤติกรรม  ความเชื่อในเรื่องเหล่านี้ลดลง  ทำให้ความเชื่อเดิมลดลง  จึงกลายเป็นปัญหาของสังคม  ซึ่งจะต้องแก้ไขให้ครบในหลาย ๆ ด้าน  และมีความสัมพันธ์กันในชุมชนและหมู่บ้านต่อไป

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

     ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น  คือ

     กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาเคลือบศิลาดล ผลิตเครื่องปั้นดินเผา

     กลุ่มข้าวศรีทวน  หมู่ที่ 5 บ้านกกตาล  ผลิตจำหน่ายข้าวสาร

     กลุ่มปลาส้มสัมปทวน ผลิตจำหน่ายปลาส้ม

     ภาษาถิ่น คือ

     ภาษาไทยและลาวเวียง

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

     สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกที่โดดเด่น  คือ

     การผลิตเครื่องปั้นดินเผาเคลือบศิลาดล ผลิตเครื่องปั้นดินเผา

การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

การบริการพื้นที่

การคมนาคมขนส่ง

     มีถนนลาดยางแอลฟัลท์ ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและถนนลูกรัง

หมู่ที่

จำนวน

สายทางรวม (สาย)

ถนนลาดยาง

 แอสฟัลส์(สาย) 

ถนนคอนกรีต

 เสริมเหล็ก(สาย) 

 ถนนลูกรัง 

(สาย)

 ทางลำลอง 

(สาย)

1

1

-

1

-

-

2

3

1

-

2

-

3

5

1

4

-

-

4

10

1

8

1

-

5

4

1

2

1

-

6

5

2

2

1

-

รวม

28

6

17

5

-

ถนนเชื่อมระหว่างตำบล

2

-

-

-

 ถนนในการรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น 

1

-

-

-

 

การไฟฟ้า

     มีระบบไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน  จำนวน  1,232   ครัวเรือน  

การประปา

     มีระบบประปาบาดาลหมู่บ้าน จำนวน 6หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1-6

โทรศัพท์

     ปัจจุบันทุกหมู่บ้าน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่

     มีตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญ 1 แห่ง ที่ บ้านเหนือ(ดอนอิฐ)หมู่ที่ 4

ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

     ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ไปรษณีย์นครชัยศรี ตั้งอยู่ เทศบาลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม ห่างจากตำบลสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 4กิโลเมตร

สาธารณสุข

     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสัมปทวน   1   แห่ง

ทรัพยากรธรรมชาติ

น้ำ

     แหล่งน้ำธรรมชาติ

     แม่น้ำนครชัยศรี(ท่าจีน)             1     แห่ง

     ลำคลองสาธารณะ                    4     สาย

     บึง , หนองน้ำและอื่น ๆ              1    แห่ง

     แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

     ฝาย                         1     แห่ง

     ระบบประปาหมูบ้าน    12     แห่ง

     ประตูน้ำกักเก็บน้ำ        4     แห่ง 

ป่าไม้

     ในเขตพื้นที่ไม่มีป่าไม้

ภูเขา

     ในเขตพื้นที่ไม่มีภูเขา

คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

     ในพื้นที่แม่น้ำท่าจีนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบรูณ์ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและเป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นต้น